บทความ

สาเหตุที่มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย

รูปภาพ
สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย       1. สภาพภูมิศาสตร์               คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น คนไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ ก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเขมรได้ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา รับเอาภาษามาลายูเข้ามาใช้ เป็นต้น             2.  ประวัติศาสตร์               ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน พลเมืองชนชาติอื่น ๆ ให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย        3.  ศาสนา                คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง

ภาษาชวา-มลายู

รูปภาพ
ภาษาชวา                ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ตัวอย่าง เช่น ภาษามลายู              ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่ออยู่ในตระกูลภาษาชวา คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีการนำคำภาษามลายูมาใช้ในภาษาไทย มีดังนี้ 1. ยืมมาโดยวิธีทับศัพท์ คำส่วนใหญ่จะยืมมาโดยวิธีการปรับเสียงให้เข้ากับระบบเสียงในภาษาไทย ซึ่งอาจจะมีการตัดเสียง เพิ่มเสียง หรือการเปลี่ยนแปลงเสียงบางเสียง 1.1 คำศัพท์มลายูที่ใช้ทั่วๆไป เช่น ทุเรียน ลองกอง

ภาษาทมิฬ

รูปภาพ
คำยืมภาษาทมิฬในภาษาไทย จากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทมิฬเป็นเวลาช้านานก่อนสมัยสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าภาษาทมิฬได้เข้ามาปะปนในภาษาไทยโดยผ่านทางลังกา เพราะไทยนับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และการค้าขายซึ่งทมิฬในสมัยโบราณเคยเข้ามาค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ทางแถบเอเชีย เช่น ชวา มลายู เขมร มอญ ไทย จึงได้หยิบยืมภาษาใช้กันเป็นธรรมดา  ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาษาอาหรับ

รูปภาพ
คำยืมภาษาอาหรับในภาษาไทย ภาษาอาหรับที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาอิสลาม และได้เข้ามาปะปนในภาษาไทยโดยผ่านทางมลายู

ภาษาฝรั่งเศส

รูปภาพ
    ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยมองซิเออร์ เดอลา มอตต์ ลังแบรต์ สังฑราชแห่งเบริทในคณะสอนศาสนาโรมันคาธอลิกของฝรั่งเศส และมีนักสอนศาสนาเข้ามาเรื่อยๆ ต่อมาได้มีการตั้งโรงเรียนและสร้างโรงสวดขึ้น บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสได้ส่งเรือเข้ามาทำการค้าขายกับประเทศไทย ไทยส่งราชทูตคณะที่ 2 ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาลิเอร์เดอโชมองต์เป็นราชทูตมาเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระนารายณ์เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็ไร้ผล อย่างไรก็ตามพระองค์ก็มิทรงได้ขัดขวาง ถ้าหากประชาชนชาวไทยจะหันไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ การที่ชาวไทยได้มีความสัมพันธ์กับชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งสมัยปัจจุบัน ทำให้มีคำยืมที่มาจากภาษาฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่เข้ามาใช้แพร่หลายอยู่ในภาษาไทย     คำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส เช่น  ครัวซองท์ ปาร์เกต์     เปตอง

ภาษาโปรตุเกส-สเปน

รูปภาพ
อิทธิพลของภาษาโปรตุเกส    ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลุ่มโรแมนติกและมีประเทศไม่น้อยที่ใช้ภาษาโปรตุเกมในการสื่อสาร เช่น แองโกลา  ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรตุเกสซึ่งเป็นประเทศล่าอาณานิคมได้เข้ามาติดต่อกับไทยโดยมีจุดประสงค์คือการเผยแพร่ศาสนาและทำการค้าขาย    คำที่มาจากภาษาโปรตุเกส เช่น  เหรียญของโปรตุเกส อิทธิพลของภาษาสเปน     ภาษาสเปนหรืออีกชื่อคือภาษาคาสตีล เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์และเป็นหนึ่งในภาษา ทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ โดยภาษาสเปนมีต้นกำเนิดมาจากภาษาละติน      ในยุคล่าอาณานิคมนั้นสเปนไม่ได้เข้ามาติดต่อในทางเอเชียมากนักยกเว้นฟิลิปปินส์ คำที่ได้รับมาจากสเปน เช่น พลาซ่าซึ่งแปลว่าลานหรือสนาม      ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาสเปน

ภาษาเปอร์เซีย

รูปภาพ
          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีว่า "พวกแขกเทศ" คือชาวต่างประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหรับ และ เปอร์เซีย ได้เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เช่น มีตำแหน่งกรมท่าฝ่ายขวา ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทิศตะวันตกของไทย เรียกว่า "จุฬาราชมนตรี" และมีแขกเทศเป็นข้าราชการไทยอยู่หลายตำแหน่ง คือ "หลวงศรียศ" "หลวงศรีวรข่าน" และ "ราชบังลัน" เป็นต้น และปราฏว่าพวกนับถือศาสนาอิสลามก็มีที่กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ในบรรดาแขกเทศทั้งหลาย พวกเปอร์เซียและอาหรับเป็นพวกที่มีอิทธิพลที่สุด เพราะมีทั้งพ่อค้าและข้าราชการด้วยเหตุนี้คำเปอร์เซียและคำอาหรับจึงปนอยู่ในภาษาไทยจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา แต่ส่วนมากผ่านมาทางมลายูก่อน           ภาษาเปอร์เซียก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่คนไทยหยิบยืมเอามาใช้แสดงถึงความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน จนทำให้คำเปอร์เซียปรากฏอยู่ในภาษาไทยด้วย ภาษาเปอร์เซีย เป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอ