ภาษาเปอร์เซีย


          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีว่า "พวกแขกเทศ" คือชาวต่างประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหรับ และ เปอร์เซีย ได้เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เช่น มีตำแหน่งกรมท่าฝ่ายขวา ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทิศตะวันตกของไทย เรียกว่า "จุฬาราชมนตรี" และมีแขกเทศเป็นข้าราชการไทยอยู่หลายตำแหน่ง คือ "หลวงศรียศ" "หลวงศรีวรข่าน" และ "ราชบังลัน" เป็นต้น และปราฏว่าพวกนับถือศาสนาอิสลามก็มีที่กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ในบรรดาแขกเทศทั้งหลาย พวกเปอร์เซียและอาหรับเป็นพวกที่มีอิทธิพลที่สุด เพราะมีทั้งพ่อค้าและข้าราชการด้วยเหตุนี้คำเปอร์เซียและคำอาหรับจึงปนอยู่ในภาษาไทยจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา แต่ส่วนมากผ่านมาทางมลายูก่อน

          ภาษาเปอร์เซียก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่คนไทยหยิบยืมเอามาใช้แสดงถึงความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน จนทำให้คำเปอร์เซียปรากฏอยู่ในภาษาไทยด้วย ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน ลักษณะเด่น คือ มีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก ส่วนคำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันได้ตามสภาพบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง

          คำภาษาเปอร์เซียที่ถูกนำมาใช้ในภาษาไทย มีดังนี้ 



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาชวา-มลายู