ภาษาชวา-มลายู


ภาษาชวา

               ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่าง เช่น



ภาษามลายู

             ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่ออยู่ในตระกูลภาษาชวา คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
วิธีการนำคำภาษามลายูมาใช้ในภาษาไทย มีดังนี้

1. ยืมมาโดยวิธีทับศัพท์
คำส่วนใหญ่จะยืมมาโดยวิธีการปรับเสียงให้เข้ากับระบบเสียงในภาษาไทย ซึ่งอาจจะมีการตัดเสียง เพิ่มเสียง หรือการเปลี่ยนแปลงเสียงบางเสียง

1.1 คำศัพท์มลายูที่ใช้ทั่วๆไป เช่น ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด รำมะนา กอและ โสร่ง

1.2 คำศัพท์มลายูที่ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ สถานที่ในภาคใต้ เช่น

ปัตตานี           มาจากคำว่า      เปอตานี
ยะลา                  ,,             ยาลา
สตูล                   ,,             เซินตูล
ภูเก็ต                  ,,             บูกิต

 2. รับมาโดยการแปลศัพท์
การรับมาโดยการแปลศัพท์มีอยู่น้อยคำ
ลูกเงาะ           มาจากคำว่า      รัมบุตัน = ลูกไม้ที่มีผม
ข้าวยำ                 ,,             นาซิ เกอราบู = ข้าวสุก+ยำ
นกขมิ้น                ,,             บุรงกุญิต = นก+ขมิ้น    

3. รับมาโดยเปลี่ยนแปลงความหมายของศัพท์
3.1 ความหมายกว้างออก เช่น
ระหัด  มลายูหมายถึง ไนปั่นฝ้าย ไทยนำมาใช้ หมายถึงเครื่องวิดน้ำและเครื่องปั่นด้าย
3.2 ความหมายแคบเข้า เช่น
อักเสบ  มลายูหมายถึง เจ็บปวดทั่วๆไป ไทยนำมาใช้ หมายถึง มีพิษกำเริบเนื่องจากแผล
3.3 ความหมายย้ายที่ เช่น
ระยำ  มลายูหมายถึง วิธีลงโทษให้ตายโดยใช้ก้อนหินขว้างหรือทุ่ม ไทยนำมาใช้ หมายถึง ชั่วช้า เลวทราม และใช้เป็นคำด่า


ตัวอย่างคำภาษามลายูที่ใช้ในภาษาไทย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาเปอร์เซีย