ภาษาบาลี-สันสกฤต



การใช้คำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย

         ความเป็นมาของภาษาบาลีสันสกฤต

ภาษาบาลี มีที่มามาจากภาษามาคธี หรือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่ใช้ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้นสมัยพุทธกาล คำว่า ปาลี มีความหมายว่า ภาษาที่คงไว้ซึ่งพุทธวจนะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ดั้งเดิมถูกบันทึกไว้ด้วยภาษาบาลี ต่อมาพุทธศาสนาถูกเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ประเทศเหล่านั้นได้ทำการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของประเทศตนเอง แต่ประเทศเช่น ลังกา ไทย ลาว และเขมร ยังคงรักษาพระไตรปิฎกไว้ให้เป็นภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต เดิมทีเป็นภาษาของวรรณะพราหมณ์ มีวิวัฒนาการมาจากคัมภีร์พระเวท แต่ก่อนถูกเรียกว่า ภาษาพระเวท เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่
โดยคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมักมีหลายพยางค์ มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และนิยมตัวการันต์

2.        เหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทย
พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทรงมีพระปณิธานแรงกล้าที่จะทะนุบำรุงพุทธศาสนา และมีการยกให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย มีการสร้างวัดเป็นศาสนสถาน และมีภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาเพื่อเผยแผ่ศาสนา คำสอนและพระไตรปิฎกถูกบันทึกเป็นภาษาบาลีสำหรับนิกายหินยานและภาษาสันสกฤตสำหรับนิกายมหายาน ทำให้ภาษาทั้งสองถูกใช้แพร่หลายในพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ไทยยังรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ วรรณกรรมภาษาบาลีและสันสกฤต และพิธีกรรมทางศาสนามากมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารับภาษาบาลีสันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาไทย

3.        การสังเกตคำภาษาบาลีในภาษาไทย



3.1      หลักตัวสะกดตัวตาม

                        หลักตัวสะกดตัวตาม
ü เมื่อพยัญชนะแถวที่ 1 สะกด แถวที่ 1 และแถวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข
ü เมื่อพยัญชนะแถวที่ 3 สะกด แถวที่ 3 และแถวที่ 4 เป็นตัวตามได้ เช่น พยัคฆ พุทธ
ü เมื่อพยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น กัญญา อัมพร
ü เศษวรรคทุกตัวเป็นตัวสะกดได้ นอกจาก ห

               1.1      หลักสังเกตสำคัญอื่นๆมีดังนี้


            1.        การสังเกตคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

1.1      มีหลักตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎบังคับเหมือนภาษาบาลี เช่น อาทิตย์ (พยัญชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม)
1.2      หลักสังเกตสำคัญอื่นๆ มีดังตาราง



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาชวา-มลายู

ภาษาเปอร์เซีย